ชัชชาติ เผย สั่งปิดสถานบันเทิง 3 แห่ง ย่านจตุจักร หลังตรวจแล้วยังไม่ผ่านมาตรฐาน เผยเหลืออีก 18 แห่งที่ต้องเร่งแก้ไข นาย ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เผยขณะไลฟ์เฟซบุ๊กวิ่งในช่วงเช้าว่า ตนได้สั่งปิดสถานบันเทิง 3 แห่งในเขตจตุจักร หลังจากที่ตนได้ลงพื้นที่สุ่มสถานบริการ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุไฟไหม้ผับชลบุรี หรือ เมาท์เท่นบี อีก
นาย ชัชชาติ กล่าวว่า จากการตรวจสอบพบว่าเป็นร้านอาหารและมีการแสดงดนตรี
ซึ่งตามประกาศของกทม. ปี พ.ศ.2548 ร้านอาหารที่มีการเล่นดนตรี จะต้องมีทางหนีไฟอย่างน้อย 2 ทาง ส่วนใหญ่น่าจะแก้ไขได้ แต่บางร้านมีปัญหาจริงๆ จึงต้องสั่งปิดไปก่อน 2-3 ร้าน ส่วนที่เหลือก็ต้องพยายามปรับปรุงแก้ไขให้ได้ตามมาตรฐาน
ขณะที่ พล.ต.อ.อดิศร์ งามจิตสุขศรี ที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวระหว่างการลงพื้นที่พร้อมนาย ชัชชาติ ว่า จากการตรวจสอบสถานประกอบการแต่ละแห่งพบว่า หลายแห่งมีใบอนุญาตประเภทธุรกิจร้านอาหาร และใบอนุญาตจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ถูกต้องตามกฎหมายแต่เนื่องจากทางร้านมีการแสดงดนตรีสดจึงเข้าข่ายประกอบธุรกิจสถานบันเทิง และเมื่ออ้างอิงตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522
ที่ระบุว่า อาคารประเภทสถานบันเทิงต้องมีทางเข้าออก ทางออกฉุกเฉิน (ทางหนีไฟ) อย่างน้อย 2 ทาง ซึ่งบางร้านมีการดัดแปลงจากอาคารพาณิชย์ 2 ชั้นจำนวน 3 คูหา ตั้งสถานบริการที่ชั้น 2 โครงสร้างอาคารไม่ได้มาตรฐาน มีทางเข้าออกเพียงทางเดียว และไม่มีอุปกรณ์ในการระงับเหตุอัคคีภัย หรือมีแล้วหมดอายุ เสื่อมสภาพไม่สามารถใช้งานได้ จะถือว่าฝ่าฝืนตามข้อระเบียบ
ด้านนายพรเลิศ ผอ.เขตจตุจักร กล่าวว่า จากการตรวจสอบในพื้นที่จตุจักรมีร้านอาหารที่ประกอบธุรกิจคล้ายสถานบันเทิง 46 แห่งทำถูกต้องตามระเบียบ 11 แห่ง มีการปรับปรุงแล้ว 17 แห่งเหลืออีก 18 แห่ง ที่ต้องแก้ไขทางหนีไฟให้ถูกต้องพร้อมติดตั้งไฟฉุกเฉินและอุปกรณ์ดับเพลิง โดยในพื้นที่เขตจตุจักรภายใต้ความดูแลของสน.พหลโยธิน มีสถานประกอบการที่จดแจ้งเป็นสถานบันเทิงที่เดียวเพราะเปิดให้บริการก่อนการจัดระเบียบโซนนิ่งของกระทรวงมหาดไทย ซึ่งสถานบันเทิงดังกล่าวทำถูกต้องตามระเบียบ
ทักษิณ ชนะ คดีสรรพากร ศาลเพิกถอนประเมินเก็บภาษีหุ้นชินคอร์ป 1.7 หมื่น ลบ.
อดีต นายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร ชนะ คดีสรรพากร โดยศาลได้มีตัดสินให้เพิกถอนการประเมินเก็บภาษีหุ้นชินคอร์ป 1.7 หมื่นล้านบาท เนื่องจากการดำเนินการไม่เป็นไปตามกฎหมาย
(8 ส.ค. 2565) ศาลภาษีอากรกลาง มีคำพิพากษาคดีความแพ่ง ที่อดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร ได้ทำการยื่นฟ้องต่อกรมสรรพากร (คดีสรรพากร) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในฐานการประเมินเรียกเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จากการขายหุ้น บ.ชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) จำนวน 17,000 ล้านบาท โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งศาลตัดสินให้ทักษินชนะคดีความดังกล่าว ในเชิงรายละเอียดนั้น มีด้วยกันดังต่อไปนี้
เมื่อวันที่ 18 ก.ค.65 ศาลภาษีอากรกลาง มีคำพิพากษาคดีความแพ่ง หมายเลขดำ ภ.220/2563 ที่นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นโจทก์ยื่นฟ้องกรมสรรพากร ,นายพงษ์ศักดิ์ เมธาพิพัฒน์ ผู้แทนอธิบดีกรมสรรพากร ,นายประภาส สนั่นศิลป์ ผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุด จำเลยที่ 3 นายพิสิทธิ์ ศรีวรานันท์ จำเลยที่ 1-4 ผู้แทนกรมการปกครอง ในฐานะคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ กรณีประเมินเรียกเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จากการขายหุ้น บ.ชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) จำนวน 17,000 ล้านบาท โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ศาลภาษีอากรกลางพิจารณาแล้ววินิจฉัยว่า การที่เจ้าพนักงานของจำเลยที่ 1 ถือเอาการออกหมายเรียกนายพานทองแท้ ชินวัตร บุตรชาย และน.ส.พินทองทา ชินวัตร บุตรสาว ในฐานะตัวแทนเชิด เป็นการออกหมายเรียกโจทก์ตามมาตรา 19 แห่งประมวลรัษฎากรในฐานะตัวการ เป็นการดำเนินการที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะการประเมินต้องออกหมายเรียกไปยังโจทก์ ซึ่งเป็นผู้ถูกประเมินโดยตรง
แต่ปรากฏว่าเจ้าพนักงานประเมินมิได้ออกหมายเรียกตรวจสอบโจทก์ภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 19 แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับนิติกรรมที่ทำขึ้น ไม่ก่อให้เกิดการโอนกรรมสิทธิ์ในหุ้นของบริษัทชินคอร์ป แต่อย่างใด โดยยังถือว่าโจทก์เป็นเจ้าของหุ้นบริษัทดังกล่าวอยู่ โจทก์จึงมิใช่ผู้มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 39 และมิใช่ผู้มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (2) แห่งประมวลรัษฎากร มีผลทำให้การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2-4 ในฐานะคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ที่วินิจฉัยยืนตามการประเมิน ไม่ชอบด้วยกฎหมายเช่นเดียวกัน แต่เจ้าพนักงานประเมินและจำเลยที่ 2-4 กระทำไปตามอำนาจหน้าที่จึงไม่ต้องรับผิดเป็นการส่วนตัว
พิพากษาให้เพิกถอนการประเมินตามหนังสือแจ้งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด.12) และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2-4 ในฐานะคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก
Credit : ที่เที่ยวญี่ปุ่น | จัดอันดับต่างๆ | รีวิวของแบรนเนม | วิธีการลงทุนต่าง